ผู้ถวายผ้าไตรจีวร แด่พระสงฆ์ด้วยจิตบริจาคที่บริสุทธิ์ อานิสงส์จึงบังเกิดเป็นผลบุญมหาศาล ดังนี้สามารถตัดบาปออกจากจิตใจ กำจัดกิเลสคือความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ให้บรรเทาเบาบางยืน เดิน นั่ง เป็นสุขใจ เบิกบาน เกิดความภาคภูมิใจในบุญกุศลบังเกิดความอิ่มบุญ สุขใจพ้นจากความยากจน ความลำบาก ขัดสนใจทุกภพทุกชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔เกิดชาติใดภพใด จะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส
ไตรจีวร หมายถึง ผ้า ๓ ผืน
นับเข้าในบริขาร ๘ อย่างของพระภิกษุสงฆ์ ไตรครองประกอบด้วย ผ้า ๗ ชิ้น
– จีวร คือ ผ้าห่มของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอุตราสงค์
– สบง หมายถึง ผ้านุ่ง ของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อันตรวาสก ในพระวินัย กำหนดการนุ่งไว้คือ ด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปิดหัวเข่า ลงมาเพียงครึ่งแข้ง การนุ่งแบบนี้ เรียกว่า นุ่งเป็นปริมลฑล
– สังฆาฎิ คือ ผ้าซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งป้องการความหนาว (ปัจจุบันใช้พาดบ่าเนื่องจากอากาศไม่หนาวจนเกินไป)
– อังสะ หมายถึง ผ้าขนาดประมาณ ๒ x๑ ศอก สำหรับภิกษุสามเณร ใช้คล้องเฉียงบ่า ปิดไหล่ ตามพระวินัยห้ามมิให้เปลือยกายแต่ใช้ผ้าอังสะนี้ปิดร่างกายท่อนบน
– ประคตเอว คือ เครื่องคาดเอว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รัดประคตนิยมใช้ด้ายถักเป็นแผ่นคล้ายเข็มขัด ยาวประมาณเมตรครึ่งถึง ๒ เมตร
– ผ้ารัดอก หมายถึงผ้าหนา กว้างประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณเมตรครึ่งถึง ๒ เมตร ใช้สำหรับรัดอกภิกษุสามเณร
– ผ้ากราบ หมายถึงผ้าที่พระสงฆ์ใช้รับของประเคนจากสตรีตามพระวินัยระบุว่า มิให้รับของประเคนมือต่อมือจากสตรี
จุดประสงค์ การถวายผ้าจีวร
เพื่อให้พระภิกษุหมดภาระในการแสวงหาผ้านุ่งห่ม ไม่ต้องกังวลใจ มีเวลาปฏิบัติธรรมอย่างเพียงพอ และเป็นการช่วยให้พระภิกษุมีผ้านุงห่ม ป้องกันเหลือบยุง บำบัดความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ป่วยไข้เพราะร้อนและหนาวเกินไป และในสมัยพุทธกาลพระภิกษุจะใช้รักษาสุขภาพอนามัย คือใช้ชายจีวรกรองน้ำดื่มเมื่อถึงคราวจำเป็น
คำถวายผ้าไตรจีวร
อิมานิ มะยัง ภันเต ติจีวะรานิ สะปะริวานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โนภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ติจีวะรานิ
สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ